นางจันทร์ธิดา มีเดช ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 7 เปิดเผยถึงความก้าวหน้าการติดตามประเมินผลมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ฤดูการผลิต ปี 2557/58 ตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่ได้กําหนดเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมในพื้นที่รับผิดชอบของสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 7 ได้แก่จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และจังหวัดลพบุรี โดยเริ่มดําเนินการตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม จนถึงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกันยายน รวม 7 สัปดาห์ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เกษตรกรที่เริ่มปลูกข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคมด้วยเทคนิคการประเมินผลสภาวะเร่งด่วน รวม 350 ตัวอย่าง ผลการติดตามเบื้องต้นสรุปได้ดังนี้
ในการรับทราบข่าวเกี่ยวกับมาตรการความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับทราบถึงมาตรการดังกล่าว โดยเกษตรกรจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และลพบุรี รับทราบถึงมาตรการฯ คิดเป็นร้อยละ 89 88 89 และ 74 ตามลําดับ ด้านการลดต้นทุนปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ มาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายต้องการลดต้นทุนเมล็ดพันธ์ไร่ละ 122 บาท ปรากฏว่า ส่วนใหญ่สามารถลดต้นทุนได้ตามเป้าหมาย โดยเกษตรกรจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และลพบุรี สามารถลดต้นทุนเมล็ดพันธุ์ได้ไร่ละ 137 151 122 และ 110 บาท ตามลําดับ ส่วนปัจจัยการผลิตปุ๋ยเคมี เป้าหมายต้องการลดต้นทุนให้ได้ไร่ละ 40 บาท พบว่า เกษตรกรสามารถลดต้นทุนได้ตามเป้าหมายเช่นเดียวกัน โดยจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และลพบุรี เกษตรกรสามารถลดต้นทุนปุ๋ยเคมีได้ไร่ละ 73 98 71 และ 64 บาทต่อไร่ตามลําดับ สําหรับปัจจัยสารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืชนั้น มีเป้าหมายลดต้นทุนให้ได้ไร่ละ 20 บาท (ลิตรละ 40 บาท) ปรากฏว่าส่วนใหญ่เกษตรกรยังไม่ได้รับผลจากมาตรการเท่าที่ควร ทั้งนี้เนื่องจากร้านค้าที่เข้าร่วมมาตรการส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้าในตลาดระดับอําเภอเท่านั้น โดยจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และลพบุรี ลดต้นทุนสารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืชได้ไร่ละ 3.78 5.82 1.60 และ 4.22 บาทต่อไร่ตามลําดับ
สําหรับค่าเช่านา ผลการติดตามเบื้องต้นพบว่าเกษตรกรในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และ
ลพบุรี มีการเช่าที่นาคิดเป็นร้อยละ 49 58 36 แล 57 ตามลําดับ โดยจ่ายค่าเช่า 2 แบบ คือ จ่ายเป็นตัวเงิน
และจ่ายเป็นผลผลิต ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายลดค่าเช่านาไร่ละ 200 บาท ปรากฏว่า ยังไม่ส่งผล
โดยตรงกับเกษตรกร ค่าเช่าที่เป็นตัวเงินส่วนใหญ่ยังคงจ่ายในอัตราเดิม ส่วนที่จ่ายค่าเช่าเป็นผลผลิตโดยคิดจากราคาผลผลิต พบว่าค่าเช่าจะลดลงตามราคาผลผลิตที่ลดลง สําหรับประเด็นการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิธีการทํานาที่ถูกต้องเหมาะสม ปรากฏว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ โดยเกษตรกรในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และ ลพบุรี ได้รับการถ่ายทอดความรู้คิดเป็นร้อยละ 12 5 6 และ 6 ตามลําดับ
ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 7 กล่าวเพิ่มเติมว่าเนื่องจากมาตรการช่วยเหลือ
เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป็นมาตรการที่ค่อนข้างเร่งด่วน และเกษตรกรบางส่วนปลูกข้าวไปก่อนแล้ว ทําให้
มาตรการบางอย่าง เช่น การลดค่าเช่านาไม่เกิดผล เนื่องจากเกษตรกรได้ตกลงค่าเช่านาล่วงหน้าไปแล้ว ขณะที่การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิธีการทํานาที่เหมาะสมโดยผ่าน อกม. นั้น เนื่องจากกิจกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาการทํานา ทําให้ อกม. ยังไม่ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรเครือข่าย อย่างไรก็ดี คาดว่า การผลิตในฤดูกาลต่อไป มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวคงจะส่งผลที่ชัดเจนมากขึ้นเพราะเกษตรกรได้รับทราบมาตรการดังกล่าวแล้วอย่างทั่วถึง ทางด้านความพึงพอใจในมาตรการของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 44 42 45 และ 48 ของแต่ละจังหวัดตามลําดับ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการให้มีมาตรการลดต้นทุนให้ได้มากกว่านี้
--------------------------------------------
ข้อมูลจาก : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศข.7
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น